แฟชั่นสตรีครองแชมป์สร้างรายได้สูงสุดบนช่องทางไลฟ์สตรีมของเถาเป่า

เครดิตภาพ: Shutterstock

เครดิตภาพ: Shutterstock

อ้างอิงจากรายงานฉบับล่าสุดของเถาเป่า แพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์ภายใต้อาลีบาบา กรุ๊ป พบว่า เสื้อผ้าสตรี เครื่องสำอาง เครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์แต่งบ้าน ไปจนถึงอาหารและเครื่องดื่ม จัดอยู่ในประเภทสินค้าอันดับต้น ๆ ที่สามารถสร้างมูลค่าขายรวม (Gross merchandise value: GMV) ในปี 2564 ได้สูงที่สุด ของช่องทางการขายแบบไลฟ์สตรีม (ถ่ายทอดสดออนไลน์ )

และในปีเดียวกัน มีผู้บริโภค 460 ล้านคนในประเทศจีน เลือกชมการจำหน่ายสินค้าผ่านไลฟ์สตรีมบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ โดยในรายงานเทรนการบริโภคผ่านไลฟ์สตรีมประจำปีของเถาเป่า ฉบับปี 2565 ซึ่งจัดทำร่วมกับ iResearch เปิดเผยว่า ผู้บริโภคไม่ต่ำกว่า 50 ล้านรายจากจำนวนดังกล่าว เป็นผู้ใช้งานที่ชมไลฟ์สตรีมบนเถาเป่ามาตั้งแต่ปี 2559 แล้ว

ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบแบบปีต่อปี ผู้บริโภคใช้เวลากับการดูไลฟ์สตรีมขายสินค้าออนไลน์บนเถาเป่าเพิ่มขึ้น เฉลี่ย 25.8 เปอร์เซ็นต์ในปี 2564 ขณะที่ปริมาณสินค้าที่ถูกซื้อผ่านช่องทางดังกล่าวก็โตขึ้นอย่างก้าวกระโดด คือ 53 เปอร์เซ็นต์  จึงไม่น่าแปลกใจที่แบรนด์ชั้นนำต่าง ๆ อาทิ DVF Helena Rubinstein และ Swiss watchmaker Vacheron Constantine เริ่มทยอยสร้างช่องทางจำหน่ายสินค้าผ่านไลฟ์สตรีมกันมากขึ้น อีกทั้งยังตั้งทีมทำงานขึ้นมาเพื่อขายผ่านช่องทางนี้โดยเฉพาะ

นอกจากนี้ รายงานฯ ยังระบุอีกว่า การไลฟ์สตรีมขายสินค้าออนไลน์จัดเป็นวิธีที่ให้ประสิทธภาพสูงสุด ในหมวดแบรนด์สินค้าประเภทเครื่องประดับ ขณะที่หมวดเสื้อผ้าและเครื่องสำอางนั้น จะสามารถสร้างยอดจำหน่ายได้สูงสุดเมื่อทางแบรนด์ใช้อินฟลูเอนเซอร์มาช่วยกระตุ้นการขาย ดังนั้น เพื่อผลักดันให้แบรนด์ชั้นนำ หันมาจำหน่ายสินค้าผ่านการไลฟ์สตรีมมากขึ้น เถาเป่าจึงได้นำเสนอคอร์สเรียนบนช่องทางผ่านไลฟ์สตรีม เกี่ยวกับเทคนิคการตลาด เพื่อช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถสร้างกลยุทธ์และเข้าถึงผู้บริโภคได้ในช่วงที่มีแคมเปญสำคัญ เช่น 6.18 Mid-Year Shopping Festival

นายเฉิง เต้า ฟ้าง, หัวหน้าฝ่ายเถาเป่าไลฟ์ (Taobao Live) กล่าวว่า การจำหน่ายสินค้าแบบไลฟ์สตรีมของแบรนด์ชั้นนำบนแพลตฟอร์มเถาเป่า ช่วยทำให้แบรนด์เติบโตอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นแบรนด์อันดับต้น ๆ ที่สามารถสร้างรายได้สูงสุดผ่านการไลฟ์สตรีมบนแพลตฟอร์มฯ

KOLs และเซเลบบริตี้สร้างความน่าดึงดูดให้กับไลฟ์สตรีมมากขึ้น

                                                               KOLs และเซเลบบริตี้สร้างความน่าดึงดูดให้กับไลฟ์สตรีมมากขึ้น

สำหรับปี 2565 นี้ ขนาดการตลาดของอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซจีนนั้นมีมูลค่าสูงถึง 3.5 ล้านล้านหยวน หรือราว 5.2 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งขยับเพิ่มขึ้นมาจากปี 2564 ถึง 1.2 ล้านล้านหยวน หรือราว 1.9 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยหากย้อนกลับไปในปี 2563 ตัวเลข GMV ของการไลฟ์สตรีมจำหน่ายสินค้าออนไลน์นั้น คิดเป็น 10.6 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่า GMV ทั้งหมดจากอุตสาหกรรมจำหน่ายสินค้าออนไลน์ อย่างไรก็ตาม iResearch ได้คาดการณ์ว่าตัวเลขดังกล่าวจะกลายเป็น 24.3 เปอร์เซ็นต์ในปี 2566

ด้านเจ้าของโหย่ง ผู่ คอฟฟี่ (Yongpu Coffee) แบรนด์กาแฟจากแดนมังกร ซึ่งมีมูลค่า GMV จากการจำหน่ายสินค้าผ่านไลฟ์สตรีมสูงสุดเป็นอันดับที่ 5 จากหมวดอาหารและเครื่องดื่มของปีที่ผ่านมา ได้ออกมาเปิดเผยว่า ทางแบรนด์มองเห็นโอกาสการเติบโตจากการจำหน่ายสินค้าแก่ผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มที่ชื่นชอบตัวสินค้า และยังคงซื้อซ้ำสม่ำเสมอ ซึ่งผู้บริโภคกลุ่มนี้

“การมีสายสัมพันธ์กับลูกค้าของเราเป็นเวลานาน มีส่วนช่วยสร้างโอกาสที่ลูกค้าจะกลับมาซื้อซ้ำมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสร้างชุมชนเฉพาะที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา” นายโหย่ง ผู่ ฮู เจ้าของ โหย่ง ผู่ คอฟฟี่ กล่าว

livestreaming Taobao Tmall Tmall Global