5 เทรนด์สุขภาพและความบันเทิงยอดฮิตขวัญใจเด็ก Gen Z ชาวจีน ประจำปี 2566
ผู้บริโภค Gen Z ในประเทศจีนกำลังก้าวข้ามการบริโภคแค่สิ่งที่จำเป็นในแต่ละวัน ไปสู่ความหลงไหลในเทรนด์ใหม่ ๆ พวกเขาจึงมองหาผลิตภัณฑ์ที่ให้ความสนุกสนานและสะดวกสบายมากขึ้น อีกทั้งยังพัฒนาคุณภาพชีวิตอีกด้วย นอกจากนี้ พวกเขายังค้นหาผลิตภัณฑ์ที่มีความเฉพาะกลุ่มและมีความสวยงามมากกว่าการเลือกผลิตภัณฯฑ์ที่ผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก
แม้ว่าพลเมืองชาวจีนจะต้องควบคุมการใช้จ่ายในช่วงที่มีการระบาดของโควิด 19 แต่อำนาจการจับจ่ายใช้สอยของนักช้อป Gen Z ที่เกิดในช่วงปี 2539 – 2553 กลับพุ่งสูงขึ้น ผลการรายงานจาก Quest Mobile เผยว่า กว่า 30% ของกลุ่มผู้บริโภค Gen Z สามารถใช้จ่ายสำหรับการช้อปปิ้งออนไลน์กว่า 289.30 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ในปีที่แล้ว ซึ่งมากกว่าของปี 2564 ถึง 2.7% และรายได้หลังหักภาษีของผู้บริโภคกลุ่มนี้ยังเพิ่มมากขึ้นเกือบ 50% เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของประเทศ (อ้างอิงจากรายงานในปี 2564)
สืบเนื่องมาจากความสนใจและความต้องการแบบเฉพาะบุคคลของกลุ่มผู้บริโภค Gen Z ผู้ประกอบการจำนวนมากในประเทศจีนกำลังเปลี่ยนการค้าแบบเฉพาะกลุ่มให้เป็นความร่ำรวย ผู้ประกอบการจำนวนมากใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มดิจิทัลเช่น เถาเป่า (Taobao) ซึ่งเป็นตลาดการซื้อขายแบบผู้บริโภคถึงผู้บริโภคของอาลีบาบา กรุ๊ป (Alibaba Group) เพื่อขยายการเข้าถึงและเป็นพื้นที่จัดแสดงนวัตกรรมในงาน เถาเป่า เมคเกอร์ เฟสติวัล (Taobao Maker Festival) ประจำปีครั้งที่ 8 ซึ่งเป็นงานเฉลิมฉลองของผู้ประกอบการรุ่นใหม่
เทศกาลนี้จัดขึ้นใน 10 เมืองทั่วประเทศจีนระหว่างวันที่ 29 เมษายนถึง 1 พฤษภาคม ที่ผ่านมา เราได้ติดต่อไปยังร้านค้าต่าง ๆ ในวันก่อนเทศกาลเพื่อทำความเข้าใจว่าอะไรที่ผลักดันยอดขายของพวกเขาและวิธีที่พวกเขาจัดแสดงสินค้าให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคชาวจีนวัยหนุ่มสาวที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจับจ่ายและเน้นเรื่องสุขภาพมากขึ้น
จากการสนทนาของเรากับผู้ค้าปลีกในงานเถาเป่า เมคเกอร์ เฟสติวัลที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในแง่ของการเข้าร่วมและจำนวนเมืองที่เข้าร่วม เราได้ระบุเทรนด์ยอดนิยม 5 อันดับแรกของเหล่า Zoomers ในประเทศจีน โดยเรียงตามลำดับต่อไปนี้:
#5: อาหารพิมพ์ 3 มิติของคุณพร้อมแล้ว
นักช้อปที่ใส่ใจสุขภาพในจีนกำลังหันไปผลิตภัณฑ์อาหารที่แปลกใหม่เพื่อควบคุมสิ่งที่เข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น
Moodles บริษัทผลิตอาหารในหางโจวแสดงให้ผู้บริโภคในจีนเห็นวิธีใหม่ในการตอบสนองความอยากอาหารของพวกเขาในงานเถาเป่า เมคเกอร์ เฟสติวัล ณ เมืองเซินเจิ้น เขาใช้ศาสตร์การทำอาหารระดับโมเลกุลและการพิมพ์ 3 มิติมาเปลี่ยนอาหารคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น บะหมี่และข้าว ให้เป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น โดยใช้โปรตีนจากสัตว์เป็นหมึกที่กินได้
“อาหารเฉพาะบุคคลและมีความแม่นยำจะกลายเป็นที่ต้องการอย่างมากในอนาคต” Ryan Zhu ผู้ก่อตั้ง Moodles ในปี 2564 โดยบริษัทของเขาเป็นสตาร์ทอัพในตลาดการพิมพ์อาหาร 3 มิติระดับโลกที่คาดว่าจะมีมูลค่าถึง 15.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2574 กล่าว
“การพิมพ์ 3 มิติได้ขยายขอบเขตการใช้งานที่เป็นไปได้ของอาหาร และทำให้เราสามารถพัฒนาสูตรอาหารเฉพาะบุคคลสำหรับกลุ่มผู้บริโภคระดับบน” Zhu กล่าว ธุรกิจของเขาได้รับการสนับสนุนโดย GGV Capital ในการระดมทุนรอบก่อนปี 2565
ประมาณ 19% ของผู้บริโภคที่อายุน้อยกว่า 24 ปีกล่าวว่าพวกเขาได้พยายามพัฒนาสุขภาพด้วยการรับประทานอาหารที่สมดุล
#4: ตามล่า Esports Craze
โลกแห่งวิดีโอเกมที่มีการแข่งขันสูงของอีสปอร์ตกำลังได้รับความนิยมในประเทศจีน ผลักดันให้ผู้ประกอบการค้นหาวิธีที่สร้างสรรค์ในการเชื่อมระหว่างโลกจริงและโลกเสมือนจริง
สินค้าอุปโภคบริโภคที่เกี่ยวข้องกับอีสปอร์ต ตั้งแต่เก้าอี้เล่นเกมไปจนถึงคีย์บอร์ด มีมูลค่าสินค้ารวมมากกว่า 1 หมื่นล้านหยวนในปีที่แล้วบนทีมอลล์ (Tmall) อ้างอิงตามแพลตฟอร์มการช้อปปิ้งออนไลน์ การซื้อจากนักช้อป 100 ล้านคน ซึ่งเป็นผู้หญิง 44 ล้านคน ทำให้ยอดขายพุ่งกระฉูด
Yowu แบรนด์สินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคของจีน ซึ่งก่อตั้งโดย Jeffery Wang ผู้ประกอบการในเซี่ยงไฮ้ในปี 2561 ตั้งเป้าไปที่แฟนกีฬาอีสปอร์ตหญิงกลุ่มนี้ โดยการนำเสนอหูฟังที่มีรูปร่างเหมือนหูแมวและอีกมากมาย เขาได้นำนวัตกรรมล่าสุดของแบรนด์มาแสดงในงานเถาเป่า เมคเกอร์ เฟสติวัล ในเมืองฉงชิ่งด้วย
เขาทำยอดขายได้มากกว่าครึ่งล้านคู่ตั้งแต่เปิดตัวแบรนด์ โดยผู้บริโภคกว่าสองในสามเป็นผู้หญิงอายุระหว่าง 16 ถึง 25 ปี และหลายคนสวมหูฟัง Yowu เพื่อแสดงความเป็นตัวของตัวเอง
“ผลิตภัณฑ์ของเราช่วยให้พวกผู้ซื้อรู้สึกว่ายังคงเชื่อมต่อกับโลกดิจิทัลได้แม้ในขณะออฟไลน์” Wang กล่าว
#3: แรงบันดาลใจจากมรดกทางวัฒนธรรม
สินค้าอุปโภคบริโภคที่ผสมผสานองค์ประกอบจากมรดกทางวัฒนธรรมของจีนกำลังเป็นที่สนใจในหมู่นักช้อปวัยหนุ่มสาวชาวจีน โดยในปี 2022 ยอดขายผลิตภัณฑ์มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ มีเพิ่มขึ้น 11.6% บนเถาเป่า เมื่อเทียบกับปี 2020 ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 100 ล้านหยวน
ผู้ประกอบการรายหนึ่งที่จับเทรนด์นี้ได้คือผู้ผลิตเครื่องหอม Lucy Lu ซึ่งผสมผสานการแพทย์แผนจีนและตำรับลัทธิเต๋าเข้ากับสร้อยข้อมือ สร้อยคอ และต่างหูเครื่องหอมทำมือ
“มีเพียงขั้นตอนเดียวในการผลิตที่สามารถใช้เครื่องจักรได้ ส่วนที่เหลือมาจากการบดสมุนไพรแห้งเป็นผง รวมถึงการปั้นเป็นก้อน ไปจนถึงการปั้นแป้งเป็นลูกปัด ล้วนต้องทำด้วยมือ” Lucy Lu กล่าว เธอเริ่มตั้งหน้าร้านชื่อ Zou’eryou บนเถาเป่าเมื่อปีที่แล้ว
ดีไซเนอร์จากเมืองซูโจวคนนี้มองเห็นความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากนักช้อปรุ่นเยาว์ เธอจึงนำผลงานสร้างสรรค์ของเธอไปโชว์ที่งานเถาเป่า เมคเกอร์ เฟสติวัลในเมืองหางโจวด้วย
“ฉันสังเกตเห็นว่าลูกค้า Gen-Z ดูให้การต้อนรับประเพณีจีนมากกว่าคนรุ่นเก่าเสียอีก” เธอกล่าวเสริม
การสังเกตของ Lu ผสมผสานกับข้อมูลการตลาด พบว่า นักช้อปรุ่นเยาว์ในจีนชอบแบรนด์ในประเทศมากกว่าแบรนด์ต่างประเทศ หากพวกเขาสามารถพิสูจน์คุณค่าของผลิตภัณฑ์ได้ ทั้งในด้านคุณภาพ การออกแบบ และมรดกทางวัฒนธรรม อ้างอิงจากการ สำรวจ Global Consumer Insights ประจำปี 2565 จากบริษัทที่ปรึกษา PwC
#2: โฮมสวีทโฮม
เมื่อชีวิตพลิกผันในช่วงที่เกิดโรคระบาด ผู้บริโภคชาวจีนจำนวนมากเปลี่ยนบ้านของตนเป็นสถานที่หลบภัยด้วยการตกแต่งตั้งแต่ศิลปะบนผนังที่สงบเงียบไปจนถึงต้นไม้ในบ้าน
ผู้บริโภคที่เกิดหลังปี 2533 คิดเป็น 40% ของผู้ซื้อของตกแต่งบ้านทั้งหมดในประเทศจีนในปี 2564 รายงาน จาก เถาเป่า ไลฟ์ ซึ่งเป็นช่องทางไลฟ์สตรีมของอาลีบาบาเผย
Li Mingqiang ดีไซเนอร์ที่อยู่เบื้องหลังแบรนด์ตกแต่งบ้าน Mulu ซึ่งจำหน่ายการสร้างสรรค์ทรายแบบไดนามิกบนเถาเป่ากล่าวว่า ประโยชน์ด้านการบำบัดคือตัวกระตุ้นให้ผู้คนซื้อสินค้า นับตั้งแต่เปิดตัวในเมืองหางโจวเมื่อปี 2559 Li และนักออกแบบของเขาได้รวมงานศิลปะทรายเคลื่อนไหวไว้ในกล่องดนตรี นาฬิกา และอื่นๆ อีกมากมาย โดยยอดขายต่อปีบน เถาเป่าเพิ่มขึ้นเกือบ 50% ในแต่ละปี
“ผู้บริโภคต้องการความรู้สึกเข้าใจและห่วงใย ผลิตภัณฑ์ของเราตอบสนองวัตถุประสงค์นั้น” Li กล่าวเสริม
แน่นอนว่าเขาสร้างความประทับใจให้กับ Qian Shengdong วัย 31 ปี อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามกว่าหนึ่งล้านคนบนโซเชียลมีเดีย เขาบอกว่าเขารู้สึกทึ่งกับผลิตภัณฑ์ของ Mulu ที่ได้เห็นทรายไหลลงมาตามนาฬิกาแก้วจนก่อตัวเป็นรูปภูเขาและมหาสมุทร
#1: ให้สมองได้พัก
ในขณะที่ผู้บริโภควัยหนุ่มสาวในจีนต้องต่อสู้กับความเครียดในที่ทำงาน หลายคนพบสิ่งปลอบประโลมใจจากสินค้าที่ส่งเสริมการสร้างสมาธิในการใช้ชีวิต
มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคในจีนรายงานว่าพวกเขาต้องการให้ความสำคัญกับการเจริญสติมากขึ้น จากการสำรวจของ McKinsey ในปี 2563 พบว่า จากผู้ตอบแบบสำรวจกว่า 60,000 คนในจีน ประมาณหนึ่งในสามกล่าวว่าพวกเขาจะฝึกทำสมาธิและฝึกสติเพื่อจัดการกับปัญหาทางจิต
Liu Fujing ผู้ร่วมก่อตั้ง 94°C ซึ่งเป็นแบรนด์ดีไซเนอร์ด้านศิลปะบำบัดในหางโจวที่ได้โชว์ในเทศกาลเถาเป่า เมคเกอร์ เฟสติวัล ในปีนี้กล่าวว่า “เราต้องการมอบวิธีที่ง่ายและสะดวกสำหรับผู้คนในการเข้าถึงศิลปะบำบัด ซึ่งพวกเขาสามารถปฏิบัติได้ที่บ้านโดยไม่มีข้อจำกัดมากนัก”
ผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดซึ่งเป็นเทียนที่เปล่งแสงสีรุ้งและมีกลิ่นหอม ช่วยให้ผู้บริโภคพบกับความสบายใจขณะเฝ้าดูขี้ผึ้งละลายเป็นลวดลายหลากสีสัน ลูกค้า 94°C จำนวนมากมาจากเมืองระดับ 1 และ 2 และเกิดหลังปี 2533
“เราเคยคิดว่าศิลปะบำบัดที่เกี่ยวข้องกับเทียนเป็นสิ่งที่เฉพาะกลุ่มมาก แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว” Wang Hanlin ผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์กล่าว
แชร์
ก๊อปปี้ลิ้งค์