เปิด 5 เทรนด์การบริโภคของตลาดจีน - McKinsey

นโยบายผ่อนปรนมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศจีน มีผลให้บรรดาบริษัทคอนซูเมอร์หลายเจ้าเริ่มกลับมาทบทวนแผนการลงทุนในประเทศซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก สำหรับปี 2566

โดย รายงาน ฉบับล่าสุดของ McKinsey บริษัทที่ปรึกษาระดับโลกได้เปิดเผย 5 แนวโน้มการบริโภคในประเทศจีนที่นักบริหารควรพิจารณาก่อนวางแผนการใช้ทรัพยากรสำหรับปีใหม่ที่กำลังมาถึงนี้

“ถ้า หรือ เมื่อใดก็ตาม ที่มีสัญญาณการบริโภคฟื้นตัว ผู้บิโภคจะมีเงินจำนวนมากไว้ใช้จ่ายอย่างแน่นอน” ที่ปรึกษาของ McKinsey ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ แดเนียล ซิปเซอร์ (Daniel Zipser) กล่าวในรายงานดังกล่าว

ปี 2565 ถือเป็นช่วงเวลาที่ผู้บริโภคชาวจีนต่างพากันประหยัดที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยส่วนมากมีความตั้งใจที่จะนำเงินไปฝากธนาคารมากกว่าใช้จ่ายเป็นสองเท่า เงินฝากออมทรัพย์เพิ่มขึ้น 14 ล้านล้านหยวน (2 พันล้านดอลลาร์) ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ จากการสำรวจผู้บริโภคชาวจีน 6,700 รายทั่วประเทศของ McKinsey ในเดือนกรกฎาคม พบว่า 58% ของการบริโภคในครัวเรือนในเขตเมืองต้องการ “เก็บเงินในช่วงหน้าฝน” ซึ่งเป็นระดับมูลค่าสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2557

แม้จะมีอุปสรรคทางเศรษฐกิจ แต่ตลาดจีนก็ยังคงแสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นในระดับหนึ่ง ท่ามกลางตัวชี้วัดหลายปัจจัย รายได้สุทธิต่อหัวของประชากรเพิ่มขึ้น 5.3% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 ตามข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) และการว่างงานในเมืองทรงตัวที่ 5.5% ในเดือนกันยายน เทียบได้กับระดับก่อนเกิดโรคระบาด

ทั้งนี้ McKinsey ได้เปิดเผยแนวโน้มอันดับต้น ๆ ที่เหล่าบริษัทคอนซูเมอร์ต้องจับตามองก่อนกำหนดกลยุทธ์การตลาดในจีนสำหรับปี 2566 ท่ามกลางสภาพแวดล้อมอันซับซ้อนในปัจจุบัน:

อันดับที่ 5: ชนชั้นกลางยังคงเติบโต

การเติบโตเป็นเลขสองหลักของผู้มีรายได้ปานกลางระดับบน และสูงกว่าระดับครัวเรือน กำลังขับเคลื่อนการเติบโตและทำให้ภาคการบริโภคแข็งแกร่งขึ้น โดยคาดว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า จีนจะมีจำนวนครัวเรือนชนชั้นกลางเพิ่มขึ้น 71 ล้านครัวเรือน

อันดับที่ 4: Premiumization ยังคงรักษาโมเมนตัม

ผู้บริโภคที่ร่ำรวยนิยมซื้อสินค้าพรีเมียมมากกว่าแบรนด์ตลาดทั่วไป ตัวอย่างเช่น ยอดขายบน ทีมอลล์ (Tmall) ของแบรนด์สกินแคร์ระดับพรีเมียม ในช่วงปี 2562-2564 มีการเติบโตแบบทบต้นที่ 52% ต่อปี ซึ่งหมายความว่ายอดขายเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวเมื่อเทียบกับตัวเลขการเติบโตเพียง 16% ของบรรดาแบรนด์ตลาดทั่วไป McKinsey กล่าว

อันดับที่ 3: ทางเลือกที่ชาญฉลาดกว่า แต่ไม่ใช่การลดคุณภาพ

ผู้บริโภคเปลี่ยนไปใช้ช่องทางที่ถูกกว่า และมองหาส่วนลดและโปรโมชั่นมากขึ้น ตัวอย่างเช่น พวกเขาเข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสมต่างๆ ในผลิตภัณฑ์สำหรับดูแลผิวเป็นอย่างดี หรือ พวกเขาสามารถเปรียบเทียบประสิทธิภาพการระบายความร้อนและเลือกเสื้อแจ็คเก็ตคุณภาพดีในราคาที่สมเหตุสมผลได้

อันดับที่ 2: ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับตัวผลิตภัณฑ์

ผู้บริโภคมีความเข้าใจและสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางเทคนิคต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาชื่นชอบจากโซเชียลมีเดียได้

อันดับที่ 1: บริษัทในท้องถิ่นคือผู้ชนะ

ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกแบรนด์ในท้องถิ่นเพราะคุณภาพและนวัตกรรม ไม่ใช่เพียงแค่ราคาที่ถูกกว่า หรือเพราะความรู้สึกภาคภูมิใจในชาติ

China import Thai export ส่งออกไทย