ทีมอลล์ ยกระดับประสบการณ์ช้อปปิ้งกับแฟลกชิปสโตร์รูปแบบใหม่

ทีมอลล์ได้เปิดโอกาสให้แบรนด์และร้านค้าได้ยลโฉมแฟลกชิปสโตร์ใหม่ “แฟลกชิป สโตร์ 2.0” (Flagship Store 2.0) โดยออกแบบเพื่อสร้างประสบการณ์ที่สร้างสรรค์เพื่อตอบโจทย์ความชื่นชอบส่วนบุคคลของผู้บริโภค โดยระบบจะจัดสินค้าที่บุคคลนั้นมักเลือกซื้อมาปรากฎขึ้นที่หน้าแรก นอกจากนี้ ยังมีอัลกอริธึ่มที่เก็บข้อมูลและเปรียบเทียบคูปองและโปรโมชั่นคืนเงิน รวมถึงคำนวณข้อเสนอที่ดีที่สุดหลังหักส่วนลดแล้ว แทนที่ลูกค้าจะต้องคิดเอง

ระบบร้านค้าแบบใหม่นี้ ยังนำเสนอคอนเทนท์ที่เหมาะกับความชอบของแต่ละคน เช่น ผู้ที่ชอบดูวิดีโอก็ได้เห็นคลิปวิดีโอมากกว่าคนที่ชอบช้อปปิ้งผ่านไลฟ์สตรีม

หน้าตาของหน้าหลักของแฟลกชิป สโตร์รูปแบบใหม่

นายเจียง ฟาน กรรมการผู้จัดการใหญ่ เถาเป่าและทีมอลล์ กล่าวว่า แฟลกชิปสโตร์เจนเนอเรชั่นถัดไปจะเป็นส่วนหนึ่งของบริการและนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่อาลีบาบามีแผนที่จะนำเสนอต่อเนื่องตลอดปี รวมไปถึงการค้นหาและข้อเสนอแนะ การตลาดและการทำแบรนด์ “ซึ่งจะยิ่งช่วยพัฒนาประสิทธิภาพของแพลตฟอร์มและสร้างความเติบโตให้กับร้านค้า ในขณะเดียวกันก็สร้างประสบการณ์ใหม่ในการช้อปปิ้งให้กับผู้บริโภคทั้งในด้านออนไลน์และออฟไลน์”

ทีมอลล์คาดว่าจะเปิดใช้รูปแบบร้านใหม่นี้ก่อนมหกรรมช้อปปิ้งระดับโลก 11.11 ที่จะเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้

จากแฟนของแบรนด์ สู่การเป็นแบรนด์แชมเปี้ยน

สำหรับร้านค้าแล้ว ทีมอลล์ได้นำเสนอวิธีการในการสร้างเอ็นเกจเม้นต์กับผู้บริโภค ผ่านแพลตฟอร์มที่เรียกว่า “แบรนด์ รอยัลตี้ สกอร์” ซึ่งผู้บริโภคจะเก็บคะแนนจากการร่วมกิจกรรมกับแต่ละร้าน ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาผลิตภัณฑ์ เลือกสินค้าใส่ลงในตะกร้าช้อปปิ้ง จนไปถึงการเล่นเกม และรีวิวสินค้า ยิ่งมีคะแนนมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งได้รับสิทธิประโยชน์จากแบรนด์ในฐานะแฟนคลับมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งการเป็นแฟนคลับ ก็จะทำให้สามารถได้สื่อสารกับแบรนด์ เช่น อ่านข้อมูลที่แบรนด์โพสต์ ดูวิดีโอ หรือเห็นข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับแบรนด์ได้มากขึ้น สะสมคะแนนได้มากขึ้นอีก


ฟีเจอร์ “สโตร์ ลอฟท์”

เพื่อเป็นการช่วยแบรนด์สร้างคอนเทนท์ที่น่าสนใจยิ่งขึ้น ทีมอลล์ได้นำฟีเจอร์ยอดนิยมของเถาเป่า “drag-down pop-ups” มาใช้ ซึ่งลูกค้าสามารถเข้าถึงคอนเทนท์หน้าพิเศษได้โดยการลากไอเท็มจากหน้าจอมือถือเมื่อเข้าไปร้านแฟลกชิป สโตร์นั้น ซึ่งทีมอลล์เรียกป๊อปอัพนี้ว่า “สโตร์ ลอฟท์” (Store Lofts) หรือแปลว่าห้องใต้หลังคาของร้าน เนื่องจากลอฟต์นี้จะอยู่เหนือขึ้นไปจากโฮมเพจของร้าน

นอกจากนี้ บนหน้าโฮมของร้านค้า แบรนด์จะสามารถใส่คอนเทนท์ฟีเจอร์ที่เป็นเสมือนจริงหรือ AR และ ภาพสามมิติได้ เช่น กระจกวิเศษ จนถึงการทดลองแต่งหน้า หรือ การทดสอบลักษณะผิวด้วย AI

ด้วยแฟลกชิป สโตร์แบบใหม่ แบรนด์เฟอร์นิเจอร์สามารถใส่ฟีเจอร์ AR เข้าไปในโฮมเพจ ช่วยกระตุ้นการตัดสินใจในการซื้อได้เร็วขึ้น ผู้บริโภคสามารถเลือกเฟอร์นิเจอร์ออนไลน์ แล้วดูว่าน่าจะเข้ากันกับบ้านหรือไม

ปุ่มใหม่จะนำผู้ใช้ไปยังหน้าที่ระบุสถานที่ตั้งของร้านค้าออฟไลน์ บอกถึงไอเท็มที่มีขายอยู่ในร้าน จนไปถึงสิทธิประโยชน์พิเศษของร้านค้าออฟไลน์ของแบรนด์ ช่องทางนี้เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้ร้านค้าออฟไลน์เกิดตัวตนอยู่ในโลกออนไลน์ ช่วยทำให้แบรนด์ต่าง ๆ สามารถเชื่อมโยงออนไลน์กับออฟไลน์เข้าด้วยกัน

ตัวอย่างของหน้าสื่อสารระหว่าง Zara กับผู้บริโภค ในร้านแฟลกชิปสโตร์ 2.0 โดยจะมีเพจที่ลิงค์ไปยังร้านค้าออฟไลน์ รวมถึงสินค้าและบริการที่มีในร้าน

“เราเห็นคอนเทนท์ที่สร้างด้วยตัวอักษรและภาพ จนถึงวิดีโอสั้นๆ และไลฟ์สตรีมมิ่ง เปิดหนทางใหม่ให้กับแบรนด์ในการที่จะแสดงออก” แอลวิน ถัง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ อาลีบาบา กรุ๊ป และหัวหน้าด้านเทคโนโลยีของการนำเสนอทีมอลล์ แฟลกชิป 2.0 กล่าว “ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีด้าน AI, AR และ 3D ปัจจุบันเราจึงสามารถนำเสนอวิธีการที่ให้แบรนด์ต่าง ๆ สามารถสื่อสารกับผู้บริโภคได้อย่างน่าตื่นเต้นมากขึ้น”

Flagship Store 2.0 ทีมอลล์ แฟลกชิป สโตร์ 2.0