รายงานเผยส่วนแบ่งทางการตลาดของสินค้าลักชัวรีในจีนทำสถิติใหม่ ท่ามกลางวิกฤติโควิด-19

ในช่วงแรกของการล็อคดาวน์เนื่องมาจากการระบาดของโควิด-19 ยอดขายของสินค้าลักชัวรีในจีนมีการชะงักงัน อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายสินค้าลักชัวรีเริ่มกลับมาฟื้นตัวเนื่องมากจากมาตรการการจำกัดการเดินทางในระดับโลก ทำให้ผู้บริโภคชาวจีนซื้อสินค้าลักชัวรีภายในประเทศแทนที่จะซื้อสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ คาดว่าอัตราการเติบโตของตลาดภายในประเทศจีนจะเพิ่มขึ้น 48 เปอร์เซ็นต์ เป็นเกือบ 346,000 ล้านหยวน (ประมาณ 1,582,149.89 บาท) ภายในสิ้นปีนี้

การเติบโตดังกล่าวขับเคลื่อนประเทศจีนให้ส่วนแบ่งทางการตลาดลักชัวรีระดับโลกของจีนเพิ่มเป็น 2 เท่าในปี 2563 และคาดว่าจะโตขึ้นอีกไปจนปี 2568 ข้อมูลเหล่านี้อ้างอิงได้ใน China’s Unstoppable 2020 Luxury Market  รายงานการวิจัยร่วมระหว่าง Bain & Company และ Tmall Luxury Division ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม

ตลาดสินค้าลักชัวรีระดับโลกมีการเติบโตลดลง 23 เปอร์เซ็นต์ในปี 2563 อย่างไรก็ตามส่วนแบ่งทางการตลาดของจีนกลับโตเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าจาก 11 เปอร์เซ็นต์ในปีก่อนหน้าเป็น 20 เปอร์เซ็นตร์ในปี 2563 และมีทีท่าว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องและทำให้ประเทศจีนมีส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุดภายในปี 2568 แม้สภาพเศรษฐกิจกลับไปสู่ช่วงก่อนวิกฤติโควิด

“ท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 เราเริ่มเห็นการถดถอยของตลาดสินค้าลักชัวรีระดับโลก เนื่องมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมถูกจำกัด อย่างไรก็ตามตลาดจีนกลับมาฟื้นตัวในช่วงคลายมาตรการล็อคดาวน์ เนื่องมาจาก 4 ปัจจัยได้แก่ การนำรายได้กลับสู่ประเทศ: ผู้บริโภครุ่นมิลเลนเนียลและเจน Z การเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัลและร้านค้าปลอดภาษีมณฑลไห่หนานซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในปีนี้” ายบรูโน่ แลนซ์ พาร์ทเนอร์อาวุโสที่ Bain & Company สาขาเซี่ยงไฮ้และหนึ่งในผู้ร่วมจัดทำรายงานวิจัย กล่าว

“เทรนด์น่าตื่นเต้นที่เกิดขึ้นกับตลาดสินค้าลักชัวรีในปี 2563 คือ การที่แบรนด์พัฒนาและสร้างเครือข่าวในการสื่อสารกับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางช่องทางออนไลน์และออฟไลน์” คริส ต่ง ประธานกรรมการฝ่ายการตลาด กล่าว “กลุ่มผู้บริโภคสินค้าลักชัวรีของจีนมีความอินเทรนด์และเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและคาดหวังจะได้รับประสบการณ์ช้อปปิ้งรูปแบบใหม่ แบรนด์ลักชัวรีระดับโลกเริ่มหันมาใช้เครื่องมือดิจิทัลใหม่ๆ อาทิ ไลฟ์สตรีมมิ่งสำหรับการให้ความรู้แก่ผู้บริโภคและแสดงสินค้า ในมหกรรมช้อปปิ้งระดับโลก 11.11 ในปีนี้  มีผู้บริโภคดูไลฟ์สตรีมมิ่งและมีปฏิสัมพันธ์หลายล้านครั้งภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ผู้บริโภคใช้เวลามองหาวิธีที่จะพูดคุยเชื่อมต่อกับแบรนด์ที่ตนชื่นชอบผ่านทางช่องทางออนไลน์

คริส ต่ง ประธานกรรมการฝ่ายการตลาด อาลีบาบา กรุ๊ป

รายงานได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยที่ขับเคลื่อนการเติบโต 4 ประการ:

การนำรายได้กลับสู่ประเทศ: ตลาดลักชัวรีของจีนมีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้นจากการใช้จ่ายภายในประเทศตั้งแต่ปี 2558 เนื่องมาจากการลดอัตราภาษีนำเข้า การควบคุมตลาดเกรย์ที่เข้มงวดขึ้นและการที่ราคาสินค้าของแบรนด์อยู่ในระดับเดียวกัน อีกทั้งมาตรการจำกัดการเดินทางในช่วงวิกฤติโควิด-19 ทำให้การใช้จ่ายสินค้าลักชัวรีภายในประเทศมีมากขึ้นถึง 70-75 เปอร์เซ็นต์ มีอัตราการเติบโตที่แตกต่างกันไปในหมวดหมู่สินค้า อาทิ เครื่องหนังและเครื่องประดับมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 70-80 เปอร์เซ็นต์ เสื้อผ้า ready-to-wear และรองเท้าเติบโตขึ้นอยู่ที่ 40-50 เปอร์เซ็นต์และนาฬิกาหรูเพิ่มขึ้นประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์

กลุ่มมิลเลนเนียลและเจน Z: กลุ่มมิลเลนเนียลในประเทศจีน (เกิดระหว่างปี 2523-2538) และเจน Z (เกิดหลังปี 2538) เป็นปัจจัยขับเคลื่อนตลาดลักชัวรีและส่งผลให้แบรนด์ปรับตัวไปสู่ดิจิทัลมากขึ้น และเน้น “การตามหาแฟชั่นที่ใช่” สินค้า ดีไซเนอร์จึงเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ กลุ่มมิลเลนเนียลนับเป็นฐานลูกค้าสำคัญในธูรกิจลักชัวรีออนไลน์

การเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัล: ในแง่ของอีคอมเมิร์ซ อัตราการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศจีนเพิ่มจาก 13 เปอร์เซ็นต์ในปี 2562 ไปเป็น 23 เปอร์เซ็นต์ในปี 2563 การระบาดของโควิดทำให้ยอดขายออนไลน์ของสินค้าลักชัวรีเพิ่มขึ้นถึง 150 เปอร์เซ็นต์ สินค้าในหมวดลักชัวรีแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ มีฐานลูกค้าไม่มากในช่วงแรกกลับเติบโตถึง 100 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2563 และการเจาะกลุ่มลูกค้าออนไลน์เพิ่มขึ้นจาก 5 เปอร์เซ็นต์ในปี 2562 เป็น 7 เปอร์เซ็นต์ในปี 2563

เกาะไห่หนาน: มณฑลไห่หนานมีโซนสินค้าปลอดภาษีมาเป็นเวลา 1 ทศวรรษ แต่กลับเพิ่งมาได้รับความนิยมในปี 2563 ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการจำกัดการท่องเที่ยวในช่วงวิกฤติโควิด-19 และมาตรการกระตุ้นการช้อป ยอดขายสินค้าปลอดภาษีในไห่หนานสูงถึง 21,000 หยวน (ประมาณ 95,630 บาท) ในสิ้นเดือนตุลาคม 2563 ยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 98 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปี 2562

สถานการณ์ในระดับโลกน่าจะกลับมาสู่ภาสะปกติก่อนปี 2565 หรือ 2566 ผู้บริโภคจีนยังจะคงมีพฤติกรรมระมัดระวังแม้พรมแดนจะเปิดให้เดินทางอีกครั้ง คาดว่าแบรนด์ลักชัวรีจะกลับมาเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2564 ในอัตรา 30 เปอร์เซ็นต์

“หลากหลายแบรนด์มีหันมาให้ความสำคัญกับกลยุทธ​ดิจิทัลเต็มรูปแบบมากขึ้น รวมไปถึงการเข้าไปอยู่ในแพลตฟอร์มดิจิทัลที่สำคัญๆ” แครี่ จาง  พาร์ทเนอร์ที่ Bain & Company สาขาเซี่ยงไฮ้และหนึ่งในผู้ร่วมจัดทำรายงานวิจัย “นอกจานี้ แบรนด์ลักชัวรีเริ่มยกระดับแบรนด์ด้วยคุณภาพและการให้ความสำคัญกับรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกลยุทธ์การส่วนร่วมกับผู้บริโภคที่แบรนด์ลักชัวรีต่างๆ พึงมี ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่แบรนด์ยังขาดในช่วงแรกที่เปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิทัล”

“แบรนด์ลักชัวรีมองอีคอมเมิร์ซไม่ใช่ในฐานะช่องทางการขายแต่เป็นช่องทางการทำการตลาด ที่สามารถสร้างความรับรู้แก่ผู้บริโภค สร้างคุณค่าแก่แบรนด์และเพิ่มกลุ่มผู้บริโภคใหม่” ลูน่า หวัง ผู้อำนวยการฝ่ายลักชัวรีของทีมอลล์ อาลีบาบา กรุ๊ป “แบรนด์มีเครื่องมือออนไลน์มากมายที่จะใช้เล่าเรื่องและสร้างความประทับใจให้กับผู้บริโภค อาทิ การปรับแต่งสินค้า สินค้ารุ่นลิมิเต็ท การใช้ข้อมูลผู้บริโภค ไลฟ์สตรีมมิ่งและการเชื่องโยงระหว่างการตลาดออนไลน์และออฟไลน์”

digitalization Tmall Luxury Pavilion คริสต่ง ทีมอลล์ มิลเลนเนียล สินค้าลักชัวรี เจนZ โควิด-19