เปิดบทสัมภาษณ์โจ ไช่ รองประธานกรรมการ อาลีบาบา กรุ๊ป: เรื่องราวความไม่ย่อท้อของสตาร์ทอัพในยามวิกฤต

โจ ไช่ รองประธานกรรมการ อาลีบาบา กรุ๊ป

ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ผู้ประกอบการบริษัทสตาร์ทอัพต่างเผชิญทางเลือกที่ยากที่จะตัดสินใจ บางรายถึงกับต้องเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจใหม่ทั้งหมด ในขณะที่บางรายเลือกที่จะถอนตัวและเอาเงินตรงหน้าเพื่อไม่ให้เจ็บตัวไปมากกว่านี้

จากการพูดคุยทางออนไลน์ โทนี่ หว่อง ผู้ร่วมก่อตั้ง Shopline  ได้สนทนากับโจ ไช่ รองประธานกรรมการ อาลีบาบา กรุ๊ปเกี่ยวกับ insight เรื่องผู้ประกอบการรุ่นใหม่ว่าจะปรับตัวอย่างไร เพื่อที่จะก้าวต่อไปข้างหน้าได้ด้วยกลยุทธ์ที่สร้างสรรค์ งานสัมมนาจัดขึ้นโดยกองทุน Alibaba Entrepreneurs Fund ในฮ่องกง

เบื้องต้น โจได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการลอยตัวเหนือวิกฤตและปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมใหม่ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นบทเรียนที่อาลีบาบาได้มาจากการที่อาลีบาบาไม่ย่อท้อต่อภัยจากโรคซาร์สและเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงนั้น โจยังเปิดเผยอีกว่าทางเลือกที่ลีกเลี่ยงไม่ได้คือจะยอมแพ้หรือจะสู้ต่อไปเพื่อธุรกิจ

กองทุน AEF ก่อตั้งในปี 2559 เพื่อสนับสนุนเงินทุนให้กับสตาร์ทอัพกว่า 80 รายในฮ่องกงและไต้หวัน และได้จัดโครงการ annual JUMPSTARTER competition ซึ่งลงทุนด้านงบประมาณ การอบรมและปัจจัยอื่นๆ ที่จำเป็นให้กับผู้ประกอบการรุ่นใหม่จากทั่วโลก

*บทสัมภาษณ์ได้รับการคัดย่อเพื่อให้กระชับต่อผู้อ่าน

ความเป็นทีมเวิร์คและความไว้ความไว้วางใจเป็นรากฐานของการอยู่รอด

โทนี่: บทเรียนที่สตาร์ทอัพได้เรียนรู้จากการต่อสู้กับโควิด-19 คืออะไร

โจ: ประการแรก ผมขอเล่าย้อนไปสมัยวิกฤตซาร์สในปี 2542 ที่อาลีบาบา เราไม่ไขว้เขวไปจากหน้าที่หลักของเรา นั่นคือการดูแลลูกค้า เมื่อเราเรียนรู้ว่าทั้งบริษัทอาจจะต้องโดนกักตัว เราย้ายคอมพิวเตอร์ไปที่บ้านอย่างไม่ลังเล แม้ในสมัยนั้นคอมพิวเตอร์จะมีอุปกรณ์ขนาดใหญ่มากมายที่เราต้องขนกลับบ้าน เราต้องการมั่นใจว่า เมื่อลูกค้าต้องการอีเมลหรือโทรหาเรา เราจะสามารถช่วยเหลือลูกค้าได้ทุกเวลา จนมาวันนี้ ลูกค้ายังมาเป็นอันดับหนึ่งเสมอ แน่นอนวาสิ่งแรกที่เราหวังคือให้พนักงานของเราปลอดภัยและทำงานในสภาพแวดล้อมที่ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้ตามปกติ เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น เราก็จะสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ยกตัวอย่างเช่น ผู้ประกอบการร้านอาหารถูกบังคับให้ร้านต้องปิดตัวลง ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่เหนือการควบคุม แต่ในวันนี้หลายบริษัทมองหาช่องทางที่จะทำให้ธุรกิจไปต่อได้ ร้านค้าปิดแต่ลูกค้าไม่ได้หยุดรับประทานอาหาร เพราะฉะนั้นตัวเลือกที่ทำได้คือ มีบริการ take out การปรับตัวจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ทีมเวิร์คและการสื่อสารภายในองค์กรคือหัวในสำคัญของการอยู่รอดใน new normal

โทนี่: ผมขอเพิ่มเติมว่าความสัมพันธ์กับผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทเป็นสิ่งสำคัญ ผมรู้สึกโชคดีที่ผู้ร่วมก่อตั้ง ฟิโอนา โล กับผมมีบทบาทในบริษัทที่แยกกันชัดเจน ความสัมพันธ์ทางธุรกิจมีความคล้ายกับการแต่งงาน มันไม่ได้เป็นเรื่องง่ายเสมอไป อย่างตัวของคุณโจเองก็มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับแจ็ค หม่า คุณมีเคล็ดลับอะไรที่ทำให้ความสัมพันธ์ไม่สั่นคลอนมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา รวมไปถึงความสัมพันธ์กับผู้ก่อตั้งอีก 17 คน ตั้งแต่บริษัทก่อตั้งขึ้น คุณมีวิธีการจัดการอย่างไรหากมีความเห็นที่ไม่ตรงกัน

โจ: ผมโชคดีที่แจ็คกับผมแตกต่างกันสิ้นเชิง เรามีบุคลิกตรงกันข้ามและความถนัดคนละด้าน ตั้งแต่วันแรก เรารู้เลยว่าแจ็คมีความถนัดและความสามารถหลายด้านที่ผมไม่มี เขาสามารถสื่อสารกับผู้คนได้อย่างดีเยี่ยมและเป็นธรรมชาติ ในด้านวิสัยทัศน์สำหรับองค์กรและการสร้างแรงบันดาลใจให้กับพนักงาน ไม่มีใครเทียบกับแจ็คได้  ตัวผมนั้นไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็นนักพูด แต่ก็มีหน้าที่ที่เหมาะกับผมและเป็นสิ่งที่แจ็คไว้วางใจให้ผมทำ ในด้านของโครงสร้างทางกฎหมายและโครงสร้างทางการเงิน อย่างที่คุณว่าไว้ ความสัมพันธ์มันก็เหมือนการแต่งงาน เราแบ่งหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบชัดเจนและเราต้องมีความเคารพในอีกฝ่าย

ความเคารพไม่ได้หมายถึงเราไม่พูดเล่นกันเลย แจ็คมักจะหยอกล้อผมเสมอ แม้กระทั่งต่อหน้าผู้ร่วมงานคนอื่นๆ และผมก็ไม่เคยถือสาอะไร เพราะเรามีความเชื่อใจซึ่งกันและกัน เราถึงหัวเราะใส่กันได้ต่อหน้าผู้อื่น

โทนี่: อย่างที่คนมักพูดกัน กว่าจะประสบความสำเร็จได้ เราต้องเคยล้มมาก่อน ความท้าทายเหล่านี้ล้วนมีความยากลำบากขึ้นไปเรื่อยๆ ในลักษณะที่แตกต่างกัน อะไรเป็นอุปสรรคสำคัญที่สตาร์อัพควรให้ความสำคัญมากที่สุด ณ ตอนนี้

โจ: ผมว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือการเลือกคนที่เหมาะสมไปทำงานในตำแหน่งและหน้าที่ที่เหมาะสม ทรัพยากรมนุษย์คือความท้าทายที่สำคัญที่สุด ในขณะเดียวกัน การทำเรื่องดังกล่าวให้สำเร็จผลลัพธ์จะเป็นที่น่าพอใจอย่างแน่นอน ในฐานะผู้ประกอบการ เราควรจะให้ความสำคัญกับคนให้มาก ให้มั่นใจได้ว่าพนักงานของคุณเชื่อมั่นในวัฒนธรรมองค์กรและปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นแบบแผนและขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้าในทุกๆ ปี ในจุดเริ่มต้น 6 เดือนแรกคือขั้นตอนของการเตรียมสินค้าให้พร้อม คุณตั้งบริษัท เปิดบัญชีหรืออะไรก็ตามที่ต้องทำ สิ่งเหล่านี้ยังไม่เกี่ยวข้องกับคน แต่ในขณะที่คุณขยับขยายธุรกิจ คุณควรจะให้เวลากับพนักงานมากขึ้นเรื่อยๆ

โทนี่: สตาร์ทอัพเจอประเด็นเกี่ยวกับคนค่อนข้างเยอะ บางครั้งคนเก่งแต่กลับไปทำงานที่ไม่เหมาะสมกับความสามารถของตัวเอง คุณมีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร

 โจ: ที่อาลีบาบา เราจะพูดอยู่เสมอว่าไม่มีคนที่เก่งที่สุด มีแต่คนที่ใช่ที่สุด ในที่ที่ใช่และเวลาที่ใช่ บางครั้งเรามอบหมายให้คนไปทำงานในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ทำให้เขาขาดโอกาสในการพัฒนาขีดความสามารถในด้านที่เขาถนัด ในฐานะผู้บริหาร คุณควรจะมีวิสัยทัศน์ในการมองเห็นผู้ที่เหมาะสมในงานนั้นๆ เรายังให้ความสำคัญกับบุคลิกและการทำงานเป็นทีม ถ้ามีคนมาสมัครงานในองค์กรและมีพลังด้านลบ เราก็คงจะไม่รับคนที่มีลักษณะดังกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งของทีม ในทางตรงกันข้ามคนที่มีทัศนคติที่เป็นบวกจะทำให้ทีมมีแรงผลักดันและเป็นความหวังของผู้ร่วมทีม

หากเจอเรื่องที่ยากลำบาก กลับไปสร้างรากฐานที่มั่นคง

โทนี่: สตาร์ทอัพหลายแห่งต่างต้องปิดกิจการไปตามๆ กันเพราะโควิด-19 แม้กระทั่งบริษัทที่รอดมาได้ก็ยังต้องฟันฝ่าอุปสรรคอีกมาก สตาร์ทอัพเหล่านั้นหันไปใช้กลยุทธ์การระดมทุนแต่ไม่ได้มีอภิสิทธิ์ในการต่อรอง คุณมีคำแนะนำอะไรเป็นพิเศษไหม

โจ: คุณลองมองย้อนกลับมาที่ตัวบริษัทและเปลี่ยนให้ตัวคุณมีอำนาจต่อรอง ดูว่ามีอะไรที่พัฒนาได้ ที่ทำให้ธุรกิจของคุณมีความโดดเด่นและน่าเชื่อถือ ไม่ใช่แค่การพูดลอยๆ แต่เป็นการนำเสนอธุรกิจของคุณให้ดูน่าสนใจและดึงดูดนักลงทุน อย่างเช่น คุณควรจะยึดมั่นในโมเดลธุรกิจของคุณ แม้ลูกค้าของคุณชะลอการใช้จ่าย คุณจะยังสามารถหาวิธีที่ได้มาซึ่งกำไรต่อลูกค้าหนึ่งราย (positive unit economics) ได้หรือไม่ สมมติว่าคุณขายสินค้าบางอย่างบนอีคอมเมิร์ซ แต่ค่าใช้จ่ายที่ทำให้ได้ลูกค้ารายใหม่มาหนึ่งรายมันสูงมากจนไม่สามารถทำกำไรได้ นั่นคือในแต่ละครั้งที่ขายของคุณจะเสียเงินทุนในส่วนของอัตรากำไรขั้นต้น ซึ่งโมเดลแบบนี้ไม่มีทางที่จะทำให้คุณได้เงินทุนสนับสนุน แต่ถ้าคุณปรับให้โมเดลธุรกิจของคุณสามารถสร้างกำไรได้และมีแผนที่ชัดเจน คุณถึงจะดึงดูดนักลงทุนได้

โทนี่: สิ่งที่น่าสนใจในตอนนี้คือสภาพแวดล้อมในปัจจุบันทำให้อัตราดอกเบี้ยต่ำมาก

โจ: ใช่ และปัจจัยดังกล่าวเป็นผลดีกับบริษัทที่จำหน่ายหุ้นโดยยึดกับอัตราการเติบโตของบริษัท เพราะนักลงทุนที่มองดูการคิดลดกระแสเงินสดจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับรายได้ในปัจจุบันหรือกระแสเงินสด นักลงทุนต้องการความเชื่อมั่นว่าคุณจะมีกระแสเงินสดหมุนเวียนที่เป็นบวกและบริษัทจะมีทิศทางการเติบโตที่ดีในระยะยาว ถ้ามองที่มูลค่าสุดท้ายของโมเดลลดกระแสเงินลด หากคุณมีแนวโน้มอัตราการเติบโตที่สูงในปีสุดท้าย มันชี้ว่ามูลค่าสุดท้ายของบริษัทก็จะสูงตามไปด้วย มูลค่าคิดลดจนมาถึงมูลค่าปัจจุบันที่มีต้นทุนต่ำเพราะอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำนับเป็นมูลค่าที่สูงมากทีเดียว คำถามคือคุณจะปรับธุรกิจอย่างไรให้มีกำไรในหน่วยเศรษฐกิจที่ชัดเจนและอัตราการเติบโตที่สูง ซึ่งอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นใน 1 ปี แต่ใน 3 ปี 5 ปี หรือ 7 ปี ธุรกิจจะมีอัตราการเติบโตที่ต่อเนื่อง ปัจจัยเหล่านี้คือสิ่งที่ดึงดูดนักลงทุน

โทนี่: สำหรับผู้ก่อตั้งบริษัทและผู้ประกอบการ การมีหุ้นใหม่เพิ่มขึ้นเป็นประเด็นสำคัญหากต้องการจะระดมทุน บ่อยครั้งที่ผู้ก่อตั้งถูกปฏิเสธเพราะการประเมินค่า ถ้าราคาหุ้นต่ำเกิน นักลงทุนก็อาจจะไม่สนใจ คุณมีความเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้

โจ: ในบางครั้ง ผู้ประกอบการให้ความสำคัญเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าของหุ้นมากไป แน่นอนว่าการประเมินมูลค่ามีความสำคัญเพราะถ้าเราขายหุ้นในราคาที่ต่ำเกินไป ทำให้มูลค่าของบริษัทต่ำเกินไปในสายตาผู้ก่อตั้ง แต่เรื่องการที่มูลค่าถูกลดต่ำลงไม่ใช่เรื่องที่คุณควรจะกังวล  เพราะฉะนั้นคุณไม่ควรจะระดมทุนในอัตราที่สูงเพียงเพราะในเรื่องของอีโก้ เพราะคุณจะทำให้นักลงทุนผิดหวัง คุณควรจะต้องการสร้างกำไรและทำให้นักลงทุนพอใจ

ตัวอย่างเช่น บริษัทที่กำลังจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ขึ้นอยู่กับตลาดหุ้นที่คุณจะเข้าจดทะเบียน คุณไม่ได้จะขายบริษัททั้งบริษัท แต่อาจจะ 10% 15% 25% ของกรรมสิทธิ์หุ้น ซึ่งนั่นคือระดับของ dilution ถ้าประเมินมูลค่าสูงเกินไป คุณก็จะทำให้นักลงทุนผิดหวังและเขาก็จะทิ้งหุ้นของคุณในท้ายที่สุด การบาลานซ์ระหว่าง dilution กับทำตามความคาดหวังของนักลงทุนจะทำให้เกิดกำไร อาลีบาบาสร้างกำไรได้เสมอ นักลงทุนของเรา ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามต่างได้กำไรจากเรามาตลอด 20 ที่ก่อตั้งบริษัทมา เพราะมันคือสูตรสำเร็จที่ทุกฝ่ายเป็นผู้ชนะ

โทนี่: สิ่งหนึ่งที่ผู้ก่อตั้งต้องเผชิญในช่วงโควิด-19 คือการควบคุมบริษัทหรือการมีอำนาจที่จะทำให้บริษัทก้าวไปข้างหน้า ผมว่ามันเกี่ยวข้องกับนักลงทุน เพราะหากคุณมีการกระจายหุ้นไปมาก คุณจะควบคุมบริษัทได้อย่างไรหรือสามารถบังคับทิศทางของบริษัทผ่านคณะกรรมการบริษัทหรือผ่านหุ้นได้อย่างไร

โจ: หากคุณศึกษาบริษัทที่ประสบความสำเร็จจากการมีผู้นำที่ดี ผู้ก่อตั้งจะไม่ได้มีอำนาจบริหารบริษัทอย่างเบ็ดเสร็จ บริษัทจำนวนมากที่ได้จดทะเบียนในวันนี้ไม่ได้มีรูปแบบของการออกหุ้นแบบ Dual class stock หรือการออกหุ้นโดยแบ่งเป็นคลาส เพราะถ้าทิศทางของหุ้นดำเนินไปได้ด้วยดี ดังนั้นประเด็นเรื่องใครมีอำนาจบริหารจะไม่ได้มีความสำคัญเลย เพราะฉะนั้นควรเอาเวลามาทำให้บริษัทเติบโตไปในทิศทางที่ถูกดีกว่า ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการสื่อสารด้วยความโปร่งใสกับผู้ถือหุ้น เพราะไม่มีใครชอบเจอเรื่องที่ไม่คาดคิด สิ่งสำคัญคือการให้ข้อมูลทั้งในแง่บวกและแง่ลบ พร้อมระบุปัญหาและวิธีการแก้ไขที่ชัดเจน

จะไปต่อหรือยอมแพ้ ปล่อยให้พันธกิจกำหนดอนาคตของคุณ

โทนี่: อาลีบาบามีผู้ก่อตั้งถึง 18 คน ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่เห็นได้โดยทั่วไป มันส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์กรและพันธกิจของบริษัทอย่างไรตั้งแต่แรกเริ่ม

โจ: ผู้ก่อตั้งมีอิทธิพลในการกำหนดวัฒนธรรมองค์กร เมื่อบริษัทเติบโตขึ้น วัฒนธรรม ค่านิยมและ DNA ของบริษัทอาจถูกลดความสำคัญลง การที่มีผู้ก่อตั้งถึง 18 คนเป็นข้อได้เปรียบเพราะพนักงานจะสามารถมีสายสัมพันธ์กับผู้ก่อตั้งได้หลากหลาย คุณอาจได้ร่วมงานกับผู้ก่อตั้งและเขาจะสอนคุณตามค่านิยมที่เขายึดถือ หากคุณมีพันธกิจที่สอดคล้องกับบริษัท การมีผู้ก่อตั้งหลายรายเป็นเรื่องที่ดี เพราะเขาเหล่านั้นต่างเป็นผู้นำสนับสนุนให้คุณบรรลุพันธกิจ

โทนี่: คุณคิดว่าวัฒนธรรมองค์กรของอาลีบาบาพัฒนาไปอย่างไร จากบริษัทสตาร์ทอัพมาเป็นองค์กรขนาดใหญ่อย่างทุกวันนี้ คุณมีวิธีอย่างไรไม่ให้ออกนอกกรอบวิสัยทัศน์เดิมที่บริษัทฯ ยึดมั่น

โจ: ประการแรกแรก ผมขออธิบายเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กร ที่อาลีบาบาเรามีมุมมองด้านวัฒนธรรมองค์กรที่ชัดเจน บางบริษัทคิดว่าเราเป็นองค์กรที่ทำงานหนัก ในความเป็นจริงแล้ววัฒนธรรมองค์กรหมายถึงการที่เรามีพันธกิจ เหตุผลของการคงอยู่ของบริษัทมันมีมากกว่าการทำกำไรเพียงอย่างเดียว ประการต่อมาเรากำหนดวิสัยทัศน์สำหรับอนาคต

คุณอยากให้บริษัทของคุณเป็นแบบไหนใน 5 ปี หรือ 10 ปี ประการที่สามคือค่านิยมองค์กร คุณยึดถือค่านิยมแบบไหน คุณอยากให้พนักงานของคุณมีการบาลานซ์ชีวิตในที่ทำงานและชีวิตส่วนตัวอย่างไร สามสิ่งนี้เป็นรากฐานของวัฒนธรรมองค์กร พันธกิจของเราคือการทำให้ทุกคนสามารถทำธุรกิจได้อย่างสะดวกสบายจากทุกหนแห่งทั่วโลก นั่นเป็นเพราะอาลีบาบาเริ่มมาจากมาเก็ตเพลส B2B สำหรับเอสเอ็มอี เป็นแหล่งรวมเอสเอ็มอีที่ต้องการทำธุรกิจได้ง่ายขึ้น เรามีความคิดที่อยากจะช่วยบริษัทขยาดเล็ก ซึ่งฝังอยู่ใน DNA ของอาลีบาบา

นักเขียนที่แจ็คชื่อชอบ จิน หยง นักเขียนวรรณกรรมเกี่ยวกับศิลปะการป้องกันตัว วัฒนธรรมที่จิน หยงเขียนไว้เรียกว่า “เฉี้ย หยี” ซึ่งหมายถึงความยุติธรรมและ “Da Bao Bu Ping” หรือการช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอกว่า ปัจจุบัน เรายังคงยึดมั่นในพันธกิจเดิมนั่นคือ การทำให้ทุกคนสามารถทำธุรกิจได้อย่างสะดวกสบายจากทุกหนแห่งทั่วโลก เรายังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเอสเอ็มอีและธุรกิจขนาดย่อม

โทนี่: สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังเผชิญกับวิกฤต ปัจจัยอะไรที่เขาควรคำนึงก่อนจะตัดสินใจว่าจะไปต่อหรือล้มเลิก หรือบริษัทควรจะเอาเงินที่เหลืออยู่ไปเลยเพื่อไม่ต้องลำบาก

โจ: ในฐานะผู้ประกอบการ ผมไม่คิดว่าการแก้ปัญหาแบบดังกล่าวเป็นทางออกที่แท้จริง คุณควรมองย้อนกลับว่าทำไมคุณถึงสร้างธุรกิจนี้ตั้งแต่แรก ยึดมั่นในพันธกิจและปัญหาที่คุณต้องการจะแก้ไข ถ้าปัญหายังคงมีอยู่และลูกค้าของคุณยังไม่ไปไหน คุณก็น่าจะพยายามสู้ต่อไป แต่ถ้าคุณยังอยากจะขายธุรกิจทิ้งให้มันจบๆ ไป นั่นแปลว่าคุณก็น่าจะหมด passion แล้ว ทุกอย่างเกี่ยวกับเงินและกำไร ไม่ใช่เพราะคุณอยากจะบรรลุพันธกิจที่คุณตั้งไว้ ผมว่าสิ่งสำคัญคือการให้พันธกิจกำหนดทิศทางของบริษัท

Alibaba Entrepreneurs Fund JUMPSTARTER โควิด-19 โจไช่