บทสัมภาษณ์ที่ปรึกษาทั่วไปของลาซาด้า ถึงการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล และปรากฏกาณ์ที่เข้ามาดิสรัปภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

“ดิจิทัล คืออนาคตของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มันคือความหลากหลายที่รอคอยการแต่งแต้มสีสัน” กลาดิส ชุน ที่ปรึกษาทั่วไปของลาซาด้า แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเรือธงระดับภูมิภาค ภายใต้อาลีบาบา กรุ๊ป

ในฐานะทนายความชาวสิงค์โปร์ กลาดิส ชุนเข้ามาทำงานกับลาซาด้าตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2557 โดยความรับผิดชอบหลักของเธอ คืองานด้านกฎหมายเพื่อเปิดทางให้บริษัทสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นภายใต้กฎข้อบังคับของแต่ละประเทศที่ลาซาด้าเข้าไปประกอบกิจการ

“ในฐานะทนาย ฉันมองว่า โอกาสที่ฉันได้เข้าไปร่วมพัฒนากฎข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อยกระดับศักยภาพของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นเปรียบเสมือนการส่งมอบมรดกทางกฎหมายแก่คนรุ่นหลัง” ชุนกล่าว

ชุนอยู่เคียงข้างลาซาด้ามาเสมอ ตั้งแต่วันที่บริษัทฯ ยังเป็นแค่สตาร์ทอัพ จนปัจจุบันนี้ กลายเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซข้ามชาติ ด้วยความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายองค์กรและการค้า บวกความคร่ำหวอดในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซและเทคโนโลยี ทำให้ทนายความหญิงผู้นี้มีความสามารถอันเป็นเอกลักษณ์

“การได้เป็นนักกฎหมายรุ่นใหม่ และได้ทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซระดับภูมิภาค ทำให้ฉันได้ก้าวขึ้นมาอยู่แถวหน้าของวงการ งานของฉันจึงมีผลต่อการปรับเปลี่ยนทิศทาง และการพัฒนากฎหมายที่มีความสลับซับซ้อน ซึ่งควบคุมมิติของการใช้เทคโนโลยีไว้” ชุนกล่าว

ถึงกระนั้น แม้แต่ดิสรัปเตอร์ (Disruptor) ก็ยังมิวายถูก ดิสรัป (Disrupt) เสียเอง โดยการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ถือเป็นบททดสอบสำคัญที่เข้ามาท้าทายชุนและทีมกฎหมายของเธอ

“เราต้องทำงานภายใต้กฎข้อบังคับที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามสถานการณ์โรคระบาด เพื่อให้บริษัทสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น และรับมือกับผลกระทบต่าง ๆ ที่มาจากโรคโควิด” ชุนกล่าว

ทีมกฎหมายของลาซาด้าต้องเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เพื่อจัดทำแผนบรรเทาทุกข์ และช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน ก็ต้องพัฒนาฟังก์ชั่นต่าง ๆ ของแพลตฟอร์มสำหรับรองรับผู้ค้ารายใหม่ และแก้ปัญหาจากเรื่องร้องเรียนให้ไวยิ่งขึ้น

ความคล่องตัวที่ถูกขับเคลื่อนด้วยระบบดิจิทัลนี้ ทำให้ลาซาด้าสามารถส่งมอบบริการในภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นแรงผลักดันในการทำงานแก่ชุน แม้ว่าจะร่วมงานกับบริษัทฯ มานานกว่า 8 ปีแล้วก็ตาม “นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมฉันจึงต้องอยู่ที่นี่ และทำไมมันถึงทำให้ฉันตื่นเต้นกับอนาคตของลาซาด้าเป็นอย่างมาก” ชุนกล่าว

สำหรับชุน การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล และการเปิดพื้นที่ให้ผู้หญิงได้มีที่ยืนในสถานที่ทำงาน คือพันธกิจที่เดินไปคู่กัน

“ต้องยอมรับว่าผู้คนมากมายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังถูกคลอบไว้ด้วยกรอบทางวัฒนธรรมที่จำกัดว่าหน้าที่หลักของผู้หญิงคือการเป็นแม่บ้าน แต่ด้วยพัฒนาการทางเทคโนโลยี กรอบความคิดนี้จะค่อย ๆ เปลี่ยนไป” ชุนกล่าว

งานวิจัยจากลาซาด้า ร่วมกับบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นสถานบันการเงินในเครือธนาคารโลก เปิดเผยว่า ภายในปีพ.ศ. 2568-2573 ตลาดอีคอมเมิร์ซของภูมิภาคนี้จะโตได้มากถึง 2.8 แสนล้านดอลลาสหรัฐฯ หากผู้หญิงได้รับการสนับสนุนด้านการทำงาน

ทั้งนี้ ลาซาด้า ถือเป็นแพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์ซึ่งมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมขีดความสามารถของผู้หญิงในทุกส่วนของระบบนิเวศองค์กร โดยบริษัทฯ มีการพิจารณาจ้างงานผู้หญิงตั้งแต่ส่วนงานภายใน ไปจนถึงตำแหน่งผู้ให้บริการขนส่ง

digitalization Lazada การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล