ส่องสูตรสำเร็จของผู้ส่งออกพลาสติกไทย ด้วยผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนและช่องทางการขายแบบดิจิตอล
เรากำลังอยู่ในช่วงเวลาที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว บริษัทต่าง ๆ จึงต้องเร่งปรับตัวเพื่อให้ทันกับตลาดและความคาดหวังของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน
การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ได้ตอกย้ำความคิดที่ว่า ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมไม่ได้เป็นเพียงตัวกระตุ้นในการขายสินค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค และการสนับสนุนแก่บริษัทอีกด้วย โดยการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า ผู้บริโภคทั่วโลกจำนวนมากกว่าหนึ่งในสาม (34%) เต็มใจที่จะจ่ายเงินมากขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ยั่งยืน[1] ในขณะเดียวกัน ผลสำรวจจาก PwC ในปี 2564 เผยว่า เกือบ 80% ของผู้บริโภคชาวไทยที่ตอบแบบสำรวจ ระบุว่าพวกเขารู้สึกว่าตัวเองใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเมื่อซื้อผลิตภัณฑ์และบริการในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งตอกย้ำถึงความสำคัญของการผสมผสานความยั่งยืนเข้ากับกิจกรรมทางธุรกิจ[2]
Plastmax เป็นหนึ่งในบริษัทไทยที่เล็งเห็นถึงความชอบของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปต่อผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน โดย Plastmax ก่อตั้งขึ้นในปี 2540 ในฐานะผู้ผลิตและผู้ส่งออกวัสดุพลาสติกรีไซเคิล ซึ่งเจาะไปที่เทรนด์ของเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน และยังเป็นหนึ่งในผู้ขับเคลื่อนตลาดรายแรก ๆ ที่มุ่งจัดหาและคัดแยกพลาสติกจากบริษัทเก็บขยะที่ใช้แล้ว เพื่อผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลที่สามารถนำมาใช้ในการผลิตสินค้าต่าง ๆ เช่น เก้าอี้ ตะกร้า และไม้แขวนเสื้อ เป็นต้น
คุณนัฐนันท์ ศรีเปรมอนันต์ ทายาทรุ่นที่สองของ Plastmax อธิบายว่า การใช้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลจะช่วยลดของเสียและการปล่อยคาร์บอน ตลอดจนเป็นทางเลือกที่คุ้มทุนสำหรับการผลิตเม็ดพลาสติกใหม่ ทั้งนี้ แนวคิดดังกล่าวช่วยให้บริษัทสร้างจุดแข็งเกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลให้บริษัทมีโอกาสเติบโตต่อไปตามรูปแบบธุรกิจและความยั่งยืน ที่กลายเป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ที่ดีอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอหากไม่มีช่องทางการขายที่ยั่งยืนที่จะช่วยให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้แม้ในยามที่ยากลำบาก ด้วยเหตุนี้ Plastmax จึงเปลี่ยนแนวทางจากธุรกิจออฟไลน์เป็นออนไลน์ เพื่อรองรับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของผู้ซื้อ
เช่นเดียวกับธุรกิจผู้ผลิตเจ้าอื่น ๆ Plastmax เริ่มจากช่องทางออฟไลน์เพื่อเข้าถึงลูกค้าต่างประเทศ แต่หลังจากที่คุณนัฐนันท์สำเร็จการศึกษาเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว เธอจึงเริ่มมองหาวิธีการทำธุรกิจใหม่ ๆ และพบว่า การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในตลาดต่างประเทศนั้นใช้การลงทุนสูง ทั้งทางด้านเวลาและค่าใช้จ่าย อีกทั้งลูกค้าจะมองเห็นแบรนด์ก็ถูกจำกัดด้วยเวลาและข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ ดังนั้น เมื่อสังเกตเห็นความนิยมของอีมาร์เก็ตเพลสที่เพิ่มขึ้นในจีน เธอจึงทำการค้นหาแพลตฟอร์มที่เน้นการค้าระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) และในที่สุดก็ตัดสินใจลองใช้ Alibaba.com
ด้วยเครือข่ายผู้ซื้อที่ใช้งานอยู่มากกว่า 20 ล้านคน จึงทำให้ Alibaba.com มีผู้ซื้อจากหลากหลายอุตสาหกรรม รวมถึงผู้ที่สนใจด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลก โดย Alibaba.com ยังจัดหาเครื่องมือและบริการที่สนับสนุนการเข้าถึงโอกาสทางธุรกิจโดยตรงของ Plastmax นอกจากนี้ ยังมีฟีเจอร์อื่น ๆ อย่างอินแสตนเมสเซนเจอร์ (Instant Messenger) ที่รองรับการแปลทันทีเพื่อการติดต่อโดยตรงกับผู้ซื้ออย่างรวดเร็ว และยังมีฟังก์ชัน RFQ (Request For Quotation) สำหรับซัพพลายเออร์อย่าง Plastmax ในการเปิดเกมเชิงรุกเข้าหาลูกค้าที่มีความต้องการได้ทันทีอีกด้วย
ตั้งแต่เข้าร่วมกับ Alibaba.com คุณนัฐนันท์สังเกตเห็นผลลัพธ์ในเชิงบวกดังต่อไปนี้:
- มีการสอบถามจากผู้ซื้อโดยเฉลี่ยมากกว่า 10 รายการต่อวันจากผู้ผลิตและผู้ค้า
- การเข้าชมหน้าร้านใน Alibaba.com จากผู้ซื้อทั่วโลก ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้ามากกว่าปกติ ก่อนที่โควิด-19 จะระบาด ผู้ซื้อบางคนถึงกับบินมาประเทศไทยเพื่อมาดูโรงงานของ Plastmax และสั่งซื้อ
- ขยายสู่ตลาดต่าง ๆ เช่น แอฟริกา บราซิล และอุรุกวัย ทั้งที่โดยปกติแล้ว ผู้ซื้อจากประเทศเหล่านั้นจะไม่สั่งซื้อเม็ดพลาสติกรีไซเคิลจากเอเชีย แต่ Plastmax ได้รับความไว้วางใจจากผู้ซื้อในประเทศเหล่านั้นจากการที่โต้ตอบกับลูกค้าอย่างรวดเร็วและข้อมูลที่อัปเดตบนหน้าร้านออนไลน์ ซึ่งลูกค้าเหล่านั้นได้สั่งซื้อสินค้าจาก Plastmax ไปแล้วกว่าหลายสิบตู้คอนเทนเนอร์
- ปัจจุบัน 80% ของลูกค้าต่างประเทศของ Plastmax มาจาก Alibaba.com ซึ่งได้แก่ประเทศบังกลาเทศ ศรีลังกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และอิตาลี เป็นหลัก
แม้ในช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่ส่งผลให้ไม่สามารถออกงานออฟไลน์ใด ๆ ได้ Plastmax ยังคงใช้ประโยชน์จากผู้ซื้อออนไลน์รายใหม่ ๆ และสามารถเติบโตอย่างต่อเนื่อง
“เรารู้สึกดีใจที่ยังคงหาลูกค้า B2B ใหม่ ๆ ได้ในสภาพแวดล้อมแบบนี้ ด้วยการมีตัวตนบนโลกออนไลน์ การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ได้ผลักดันให้ผู้ซื้อมองหาช่องทางการจัดซื้อทางออนไลน์ และถ้าเรายังมัวแต่เจาะตลาดการออกร้านแบบออฟไลน์แต่เพียงอย่างเดียว เราก็จะพลาดโอกาสการขยายธุรกิจที่มีประสิทธิภาพและก้าวกระโดดนี้ไป” คุณนัฐนันท์ ศรีเปรมอนันต์กล่าวสรุป
[1] https://www.businesswire.com/news/home/20211014005090/en/Recent-Study-Reveals-More-Than-a-Third-of-Global-Consumers-Are-Willing-to-Pay-More-for-Sustainability-as-Demand-Grows-for-Environmentally-Friendly-Alternatives
[2] https://www.pwc.com/th/en/press-room/press-release/2021/press-release-02-07-21-en.html#:~:text=Nearly%2080%25%20of%20Thai%20consumers,integrating%20ESG%20into%20Thai%20businesses
แชร์
ก๊อปปี้ลิ้งค์